วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) เป็นอย่างไร

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นแอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Allianc e[3]กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication

รายชื่อโทรศัพท์มือถือที่ใช้แอนดรอยด์

       Acer
  • Acer beTouch E110
  • Acer beTouch E120
  • Acer beTouch E130
  • Acer beTouch E140
  • Acer Liquid A1 (S100)
  • Acer Liquid E (S100E)
  • Acer Liquid E Ferrari (S100F)
  • Acer Stream (S110)
  • Acer Liquid Metal (S120)
Dell
  • Dell Mini3i
  • Dell Streak
Garmin
  • Garminfone
Google
  • Nexus S
  • Nexus One (HTC Passion)
HTC
  • HTC Desire Z
  • HTC Desire HD
  • HTC Aria
  • HTC Desire
  • HTC Dream (T-Mobile G1, Era G1, ADP1)
  • HTC Espresso (MyTouch 3G Slide)
  • HTC Evo 4G (HTC Supersonic)
  • HTC Hero (HTC Droid Eris, T-Mobile G2 Touch)
  • Droid Incredible
  • HTC Legend
  • HTC Magic (HTC Sapphire, T-Mobile myTouch 3G, DoCoMo HT-03A, ADP2)
  • HTC Passion (Nexus One)
  • HTC Tattoo (HTC Click)
  • HTC Wildfire
Huawei
  • U8220
  • U8230
i-mobile
  • i-mobile 6010
  • i-mobile 8500
  • i-mobile i858
LG
  • GW620 Eve
  • GT540 Optimus
  • Andro-1
  • OptimusOne
  • LG ally (Aloha)
Motorola
  • Motorola Backflip
  • Motorola CLIQ (Motorola DEXT)
  • Motorola CLIQ XT (Motorola Quench, Motorola MB501)
  • Motorola Devour
  • Motorola Droid (Motorola Milestone)
  • Motorola Droid X
  • Motorola Droid 2
  • Motorola XOOM
Samsung
  • Samsung Behold II
  • Samsung Galaxy Spica (Samsung i7500)
  • Samsung Galaxy Cooper (Galaxy Ace)
  • Samsung Galaxy S (Samsung i9000)
  • Samsung Galaxy SL (Samsung i9003)
  • Samsung Galaxy S II
  • Samsung Galaxy 551 i5510
  • Samsung Galaxy Mini
Sony Ericsson
  • XPERIA X10 (SO-01B)
  • XPERIA X10 Mini
  • XPERIA X10 Mini Pro
  • XPERIA ARC (SO-01C)
  • XPERIA NEO
  • XPERIA PRO
  • XPERIA PLAY
  • XPERIA Mini
  • XPERIA Mini PRO
  • XPERIA W8 WALKMAN
Spriiing
  • Spring Smile
WellcoM
  • WellcoM A66
  • WellcoM A68
  • WellcoM A88
  • WellcoM A99
             

แหล่งอ้างอิงแอนดรอยด์ระบบปฏิบัติการ

            
  1. ^ "Licenses". Android Open Source Project. Open Handset Alliance. http://source.android.com/license. Retrieved 2008-10-22. 
  2. ^ Open Handset Alliance (2007-11-05) Industry Leaders Announce Open Platform for Mobile Devices ข่าวหนังสือพิมพ์ เรียกดูเมื่อ 2007-11-05
  3. ^ Open Handset Alliance member
  4. ^ "T-Mobile Unveils the T-Mobile G1 - the First Phone Powered by Android", HTC. สืบค้นวันที่ 2009-05-19
  5. ^ Android Platfrom version
  6. ^ Ducrohet, Xavier (27 April 2009). "Android 1.5 is here!". Android Developers Blog. http://android-developers.blogspot.com/2009/04/android-15-is-here. Retrieved html.2009-09-03. 
  7. ^ "Android 2.0, Release 1". Android Developers. http://developer.android.com/sdk/android-2.0.html. Retrieved 27 October 2009. 
  8. ^ "Android 2.1, Release 1". Android Developers. http://developer.android.com/sdk/android-2.1.html. Retrieved 17 January 2010. 
  9. ^ Swetland, Brian (7 February 2010). "Some clarification on "the Android Kernel"". lwn.net. http://lwn.net/Articles/373374/. Retrieved 2010-02-21. 
  10. ^ http://developer.android.com/sdk/android-2.3-highlights.html
  11. ^ http://developer.android.com/sdk/android-3.0-highlights.html
  12. ^ "Android Market Developer Distribution Agreement (USA)". android.com. http://www.android.com/us/developer-distribution-agreement.html. 
  13. ^ Supported locations for merchants

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

 2. เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบายตอบ.  SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน
           เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้
           กันในยุคปัจจุบัน





3. แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ.  สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตาราง
           เพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์





4. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ. "ชาร์ลส แบบเบจ" เนื่ิองจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ
           ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้ง





5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ.  ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วย    คำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2




6. Von Neumann มี. John บทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน
         ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่าง
          มาก





7. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใดตอบ.  UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ
           เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา





8. ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศโดยมีขนาดเล็ก
         กว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและ
         ต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวมโดยมีความ
         สามารถที่ดีกว่าเดิมซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว
         และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมา 





9. E-Government คืออะไร จงอธิิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.  Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสน
           เทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาล
          ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
           ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ





10. สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่า่่งไร
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้
         สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวน
         มาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง
        โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆ
         ให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที

                       

Thumb drive / USB Flash drive / Handy drive

 Thumb drive  คือชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของ USB Flash drive มีความหมายเช่นเดียวกับชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น  Handy drive, Jet drive  คือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่มีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 8 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

    
1.ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ.
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่สามารถจับต้องได้ โดยทั่วไปมักเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และนอกเครื่อง สำหรับซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการโดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆ ที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะถูกสร้างมาโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีความชำนาญ




2.หน่วยงานชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในวงการซอร์ฟแวร์ไทย
ตอบ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีบทบาทในเรื่องการส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาเพื่อการส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่งด้วย





3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.
นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการโดยจำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจความต้องการโดยรวมของผู้ใช้โดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทางในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด โดยผู้ใช้เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบงานที่ต้องการให้กับผู้ออกแบบระบบ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดยเฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยกประเภทบัญชีให้กับผู้ออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นต้น





4.ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ.
มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้เป็นอย่างดี





5.Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ.
เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นอย่างมีแผนโดยอาศัยหลักการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตรวจสอบว่า การเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักหรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายๆ ภาษา บุคคลเหล่านี้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี





6.การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ.
เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวกับบุคคลในตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุมสร้างระบบป้องกันการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้เป็นอย่างดี





7.binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ.
เป็นเลขฐานสองที่ประกอบตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อนจึงสามารถ

เอามาใช้งานในการประมวลผลเลขต่าง ๆ ได้ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอลซึ่งมี 2 ลักษณะเท่านั้นคือ เปิด (1) ปิด (2)




8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.
เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ดจากนั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านจอภาพ





9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.
สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ไมโครโฟนเป็นต้น
- ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้วจากสื่อบันทึกอย่าง ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ซีดี ดีวีดี แฟร์ตไดร์ เป็นต้น




10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ”สมอง”และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
ตอบ.
CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเหมือนกับ"สมอง"ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ

- หน่วยควบคุม ( Control Unit )
- หน่วยคำนวณตรรกะ ( Arithmetic Unit)
- ริจิสเตอร์ ( Register )




11.ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ.
ถือว่าเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่องอย่างถาวรแม้ไฟจะดับก็ไม่สามารถทำให้คำสั่งต่างๆ หายไปได้ ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังอยู่เพียงเท่านั้น สามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข้ได้ตลอดเวลา





12.machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.
เป็นวงรอบหนึ่ง ๆ ในการทำงานของ CPU จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลัก ๆ โดยการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู้รีจิตเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผลจากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่ววนอื่น ๆ เรียกต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนช้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมนการทำงานทั้งหมด





13.ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ.
Exectution Time หรือเวลาปฎิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของ CPU ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฎิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)

สรุปเนื้อหาบทที่ 1

บทนำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์นำมาใช้ในเกือบทุกสาขาอาชีพ เช่น อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ร้านค้า และสถาบันการศึกษาคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหลายส่วน ซึ่งสามารถแบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น อุปกรณ์ป้อนข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล อุปกรณ์ประมวลผล และอุปกรณ์เก็บข้อมูล

คำศัพท์ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์หมายถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์หมายถึงคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดในคอมพิวเตอร์คือ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งควบคุมและจัดการฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
คุณสามารถใช้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น กลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ เรียกว่า เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นกลุ่มของเครือข่ายซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน



ประสิทธิภาพและคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ จะมีให้เลือกมากมาย ทั้งรูปทรง ขนาด และประสิทธิภาพ
ซึ่งได้แก่ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือและคอมพิวเตอร์แท็บเบล็ต
คอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะมีหน่วยความจำ ซึ่งใช้เพื่อบันทึกข้อมูลที่ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใช้ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ใช้จะปรากฏอยู่ในรูปของ 0 กับ 1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันจะ
ทำงานแตกต่างกัน โปรแกรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้คุณสามารถจัดเรียงตัวเลข เขียนจดหมายหรือข้อเสนอ จัดการบันทึกข้อมูล และสร้างรูปภาพ โปรแกรมสื่อสารช่วยให้
คุณสามารถพูดคุยกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น คุณสามารถใช้โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เพื่อดูภาพยนตร์ ฟังเพลง หรือเล่นเกม



ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และช่วยจัดการแฟ้มและโฟลเดอร์บนคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น Windows XP ประกอบด้วย GUI ซึ่งช่วยเพิ่มความ
สะดวกในการบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ส่วน Windows Explorer เป็นโปรแกรมในระบบปฏิบัติการ Windows ที่จะช่วยให้คุณสามารถค้นหาและเปิดแฟ้มและโฟลเดอร์ต่างๆ แต่ละแฟ้มมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกัน โดยระบบปฏิบัติการจะตัดสินใจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเปิดแฟ้มนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบแฟ้ม



โอกาสในการทำงานปัจจุบัน มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ในครัวเรือนไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์
พื่อจัดการบันทึก แลกเปลี่ยนข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกรรมในแต่ละวันเพื่อสร้างเป็นรายงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับการซื้อขายแบบออนไลน์ และการตรวจสอบราคาหุ้น และด้วยการใช้งานที่แพร่หลายนี้เอง ทำให้เกิดโอกาสในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพียงคุณมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง คุณก็สามารถเป็นผู้ที่ทำงานด้านสารสนเทศ ผู้มีวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาบทที่ 2

สรุปเนื้อหาบทที่ 2

 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์นความเป็นจริงแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการมาทำงานประสานงานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย


ฮาร์ดแวร์หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน


ซอฟต์แวร์หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น


บุคลากรหมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น


ข้อมูลข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)